top of page
Writer's pictureMinimalMize

เครื่องประดับสมัยอยุธยา

Updated: May 7, 2018


หลายๆคนในตอนนี้ตอนคงกำลงจะอินกับกระแสพี่หมื่นฟีเวอร์ จากละครเรื่องบุพเพสันนิวาสที่กำลังโด่งดังเป็นพลุแตกทั่วทั้งพระนครในขณะนี้ ออเจ้าทั้งหลายคงอยากจะเกิดเป็นเกศสุรางค์หรือแม่หญิงการะเกดกันมิใช่น้อย คนอาร๊ายยยน่าอิจฉาจริงๆตายไปแล้วยังได้ย้อนยุคกลับมาในสมัยอยุธยา เป็นลูกพระยานาหมื่น แถมยังได้เป็นคู่หมั้นของหมื่นสุนทรเทวา หรือตอนนี้ได้อวยยศเป็นขุนศรีวิสารวาจาไปแล้ว

จากละครเรื่องนี้นอกจากจะมีหนุ่มหล่อมาให้สาวๆอย่างเราเสพเป็นอาหารตากันแล้ว หลายคนก็คงจะประทับใจในเรื่องขององค์ประกอบในเรื่องที่ทำออกมาได้สวยงามเหมือนเราได้ย้อนยุคไปอยู่ในยุคสมัยอยุธยา และที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือการแต่งกายและเครื่องประดับของตัวละครต่างๆ โดยเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมานั้น เราคงจะได้นั่งอิจฉานางเอกไปตามๆกันกับฉากที่พี่หมื่นสายเปย์แห่งอยุธยา ซื้อสังวาลย์ทับทิมให้นางเอก ถ้าจะได้สามีสักคนก็ขอแบบพี่หมื่นนี่แหละค่า

ในวันนี้เราจึงได้นำเกร็ดเล็กๆน้อยๆจากละคร มานำเสนอให้ทุกท่านเป็นความรู้เกี่ยวกับเครื่องประดับสมัยอยุธยากันโดยจะขอแบ่งเป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ

1.เครื่องประดับสำหรับกษัตริย์ มเหสี พระราชวงศ์ และขุนนางในราชสำนัก


เครื่องประดับสำหรับกษัตริย์ มเหสี พระราชวงศ์ และขุนนางในราชสำนัก ระบุไว้ในกฎมณเฑียรบาล มีดังนี้

  • มงกุฎ และชฎา ราชาศัพท์เรียกว่า "พระมงกุฎ" และ "พระชฎา" เป็นเครื่องประดับประเภทศิราภรณ์ ใช้สำหรับกษัตริย์และมเหสี หากมียอดแหลมตรงขึ้นไป เรียกว่า "มงกุฎ" หากมียอดหลายยอดปัดไปทางด้านหลัง โดยแยกเป็นหาง ไหลออกไปหลายหาง เรียกว่า "ชฎา"

  • เทริด (อ่านว่า เซิด) เป็นศิราภรณ์สำหรับกษัตริย์ หรือพระราชวงศ์ และเทวรูป มีรูปเป็นมงกุฎทรงเตี้ย

  • เกี้ยว ราชาศัพท์เรียกว่า "พระเกี้ยว" มีลักษณะเป็นวงคล้ายกับพวงมาลัย ใช้สำหรับรัดผมหรือรัดจุก

  • กุณฑล ราชาศัพท์เรียกว่า "พระกุณฑล" คือ ตุ้มหู หรือต่างหู

  • สังวาล ราชาศัพท์เรียกว่า "พระสังวาล" หรือ "สร้อยเฉวียงพระองค์" เป็นสร้อยที่คล้องลงมาจากบ่าทั้ง ๒ ข้าง

  • สร้อยคอ ราชาศัพท์เรียกว่า "สร้อยพระศอ" เป็นสร้อยสวมไว้ที่คอ

  • กำไลต้นแขน ราชาศัพท์เรียกว่า "พระพาหุรัด" หรือ "พาหุรัด" เป็นกำไลรัดที่ต้นแขน

  • กำไลข้อมือ ราชาศัพท์เรียกว่า "ทองพระกร" หรือ "ทองกร" เป็นกำไลสวมที่ข้อมือ

  • กำไลข้อเท้า ราชาศัพท์เรียกว่า "ทองพระบาท" เป็นกำไลสวมที่ข้อเท้า นิยมใส่เฉพาะสตรี

  • แหวน ราชาศัพท์เรียกว่า "พระธำมรงค์" หรือ "ธำมรงค์" เป็นแหวนสวมที่นิ้วมือ

2.เครื่องประดับสำหรับบุคคลทั่วไป นิยมใส่แหวนไว้ที่นิ้วกลาง นิ้วนาง หรือนิ้วก้อย โดยอนุญาตให้ใส่ได้มากเท่าที่จะใส่ได้ ผู้หญิงนิยมใส่ต่างหู แต่ผู้ชายไม่นิยม ต่างหูมักทำด้วยทองคำ เงิน หรือเงินกะไหล่ทอง ลูกของคนมีฐานะดีนิยมสวมกำไลข้อมือจนมีอายุ ๖ - ๗ ขวบ โดยอาจสวมกำไลต้นแขนและกำไลข้อเท้าด้วย ลูกสาวของขุนนางนิยมสวมรัดเกล้าทองคำในพิธีแต่งงานของตน



แต่ถ้าพูดถึงสมัยนี้ก็ต้องเป็นเครื่องประดับสไตล์ Minimal นะคะที่กำลังฮิตสุดๆกันไปเลย สามารถเลือกชมสินค้าได้ที่

credit:http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=34&chap=4&page=t34-4-infodetail06.html



3,111 views0 comments

Comments


bottom of page